เมนูหลัก > การอนุรักษ์หมอลำสินไซ ผ่านรายการไมค์ทองคำหมอลำฝังเพชร2

 
 
 

การอนุรักษ์หมอลำสินไซ ผ่านรายการไมค์ทองคำหมอลำฝังเพชร2

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนทรชัย ชอบยศ หัวหน้าโครงการวิจัย เรื่อง “แนวทางการสร้างความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมกิจกรรมผู้สูงอายุในการอนุรักษ์และประยุกต์ใช้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น : กรณีศึกษาการอนุรักษ์หมอลำสินไซ ตำบลโนนฆ้อง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น” ซึ่งงานวิจัยนี้อยู่ภายใต้ชุดโครงการศูนย์ส่งเสริมและประสานงานวิจัยเพื่อการปกครองตนเองของท้องถิ่น (สปวท.) สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

 

โครงการวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญในชุมชนท้องถิ่น ในการนี้โครงการวิจัยฯได้นำกลุ่มอนุรักษ์และประยุกต์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมหมอลำสินไซบ้านห้วยหว้า ซึ่งเป็นดอกผลของกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม นำเสนอต่อสาธารณะชนผ่านช่อง Workpoint TV ในรายการ “ไมค์ทองคำหมอลำฝังเพชร2” เพื่อให้ตระหนักและเห็นคุณค่าในมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นและถือเป็นการส่งเสริมกิจกรรมผู้สูงอายุ

 

ทั้งนี้การวิจัยดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประวัติความเป็นมาของหมอลำสินไซ ชุมชนบ้านห้วยหว้า ตำบลโนนฆ้อง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น (2) ศึกษาผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมสูงวัยของคณะหมอลำสินไซชุมชนบ้านห้วยหว้า (3) ศึกษาแนวทางการสร้างความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมกิจกรรมผู้สูงอายุในการอนุรักษ์และประยุกต์ใช้มรดกภูมิปัญญาหมอลำสินไซ และ (4) ให้ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายแก่ภาคีที่เกี่ยวข้องในการอนุรักษ์หมอลำสินไซ

อนึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่

1)      มิติเชิงวิชาการ

- สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่นเชิญหัวหน้าโครงการวิจัยฯไปบรรยายเรื่องการเก็บข้อมูลทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นจำนวน 2 ครั้ง

- การตีพิมพ์หนังสือกลอนลำและประวัติศาสตร์หมอลำสินไซบ้านห้วยหว้า ตำบลโนนฆ้อง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น

–คู่มือแนวทางการสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมกิจกรรมผู้สูงอายุเพื่อการอนุรักษ์และประยุกต์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น

2)      มิติชุมชน/กลุ่มอนุรักษ์ฯ

- เกิดการรวมกลุ่มอนุรักษ์และประยุกต์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมหมอลำสินไซบ้านห้วยหว้า

- การได้รับเชิญ/ร่วมแสดงในโอกาสต่างๆไม่ต่ำกว่า 12 ครั้ง ในรอบ 6 เดือนของงานวิจัย

- ชุมชนเกิดรายได้ไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท

- การดำเนินกิจกรรมร่วมกันของกลุ่มอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมหมอลำสินไซและกลุ่มสตรีผ่านการฝึกซ้อมหมอลำสินไซ

3)      มิติเชิงนโยบาย

-การจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับประวัติหมอลำสินไซบ้านห้วยหว้า ของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น

-แนวนโยบายของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่นร่วมกับเทศบาลตำบลโนนฆ้อง มีแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ตำบลโนนฆ้อง เสนอของงบประมาณตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดขอนแก่น ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2564 จำนวน 2 โครงการ

-เทศบาลตำบลโนนฆ้องให้ความสำคัญในการสนับสนุนด้านกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์หมอลำสินไซ ผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบล กว่า 100,000 บาท

-เทศบาลตำบลโนนฆ้องจัดทำฐานข้อมูลชุมชน โดยให้กลุ่มอนุรักษ์และประยุกต์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมหมอลำสินไซบ้านห้วยหว้า เป็น 1 ในแหล่งเรียนรู้ของเทศบาลตำบลโนนฆ้อง

-เกิดการรวมตัวของเครือข่ายทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมกิจกรรมผู้สูงอายุ ระหว่าง วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ และที่สำคัญคือชุมชนและกลุ่มศิลปินหมอลำ

 


วิทยาลัยการเมืองการปกครอง , วิทยาลัยการเมือง , มหาวิทยาลัยมหาสารคาม , มหาวิทยาลัย มหาสารคาม , Mahasarakham University

 

ประกาศเมื่อวันที่ : 2019-11-20
ผู้ประกาศ : จันทร์สุดา การดี
แนบไฟล์ : ไม่มีไฟล์ข้อมูล