บริการยืม - คืน
ให้บริการยืม - คืน ทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ แก่ผู้ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้แก่หนังสือภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ สิ่งพิมพ์รัฐบาล รายงานการวิจัย ปริญญานิพนธ์/วิทยานิพนธ์ สมาชิกต้องยืมด้วยตนเองที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน
สิทธิในการยืมทรัพยากรสารสนเทศและค่าปรับ
• อาจารย์ อาจารย์พิเศษ ยืมได้ไม่เกิน 20 รายการ : 1 ภาคการศึกษา
• ข้าราชการ หรือพนักงาน ยืมได้ไม่เกิน 15 รายการ : 7 วัน
• ลูกจ้าง ยืมได้ไม่เกิน 10 รายการ : 7 วัน
• นิสิตระดับปริญญาเอก ยืมได้ไม่เกิน 20 รายการ : 15 วัน
• นิสิตระดับปริญญาโท และนิสิตประกาศนียบัตรบัณฑิตยืมได้ไม่เกิน 15 รายการ : 7 วัน
• กรณีนิสิตนอกที่ตั้งห้องเรียน ยืมได้ไม่เกิน 15 รายการ : 14 วัน
• นิสิตระดับปริญญาตรี หรือต่ำกว่าปริญญาตรี หรือโปรแกรมอื่นๆ ยืมได้ไม่เกิน 10 รายการ : 7 วัน
• กรณีนิสิตนอกที่ตั้งห้องเรียน ยืมได้ไม่เกิน 10 รายการ : 14 วัน
• สมาชิกบุคคลภายนอก ยืมได้ไม่เกิน 10 รายการ : 7 วัน
• สมาชิกข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (PULINET) ยืมได้ไม่เกิน 3 รายการ : 7 วัน
• ค่าปรับหนังสือส่งเกินกำหนด 5 บาท / เล่ม / วัน
• ค่าปรับหนังสือสำรองเกินกำหนด 10 บาท / เล่ม / วัน
ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการ
หนังสือ (Book)
* หนังสือสารคดี (Non-Fiction Books) ประกอบด้วย
• หนังสือตำราวิชาการหรือแบบเรียน (Textbooks) เป็นหนังสือที่ใช้สำหรับการเรียนการสอน ตามรายละเอียดเนื้อหาวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
– หนังสืออ่านประกอบ (External Readings) เป็นหนังสือที่ใช้อ่านประกอบในรายวิชาต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ที่กว้างขวางขึ้น
– หนังสือความรู้ทั่วไป (General Readings) เป็นหนังสือที่นำเสนอเรื่องราว ทั่ว ๆ ไปหรือเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สำหรับผู้ที่สนใจอ่านเพื่อศึกษาหาความรู้
– หนังสืออ้างอิง (Reference Books) เป็นหนังสือที่เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิสาขาใดสาขาหนึ่ง เพื่อให้ผู้ใช้ได้ศึกษาค้นคว้าหาคำตอบที่ต้องการโดยไม่จำเป็นต้องอ่านทั้งเล่มหรือทั้งชุด เช่นหนังสือสารานุกรม พจนานุกรม หนังสือรายปี เป็นต้น
– ปริญญานิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ (Thesis or Dissertations) เป็นหนังสือสาขาวิชาต่าง ๆ ที่นิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโทขึ้นไป) เรียบเรียงขึ้นเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร
* หนังสือบันเทิงคดี (Fictions) เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นเพื่อความบันเทิงแก่ผู้อ่าน ซึ่งอาจจะสอดแทรกความรู้และข้อคิดต่างๆ ไว้ด้วย หนังสือประเภทนี้ผู้เขียน เขียนขึ้นจากแนวคิด ประสบการณ์ ตลอดจนจินตนาการของตนเอง แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้
– หนังสือนวนิยาย (Fictions) เป็นหนังสือที่มีกลวิธีในการดำเนินเรื่องที่น่าสนใจ และผูกเป็นเรื่องราวต่อเนื่อง เนื้อเรื่องยาวจะแบ่งออกเป็นตอน ๆ บางเรื่องอาจมีหลายเล่มจบหรือหลายภาค
– หนังสือเรื่องสั้น (Short Story) เป็นหนังสือที่จะมีลักษณะคล้ายกับ นวนิยาย แต่จะมีเนื้อเรื่องสั้น ๆ ตัวละครไม่มาก มีจุดสำคัญ (ไคลแมกซ์) เพียงจุดเดียว หนังสือเรื่องสั้นส่วนมากจะรวมหลายเรื่องเรียกว่ารวมเรื่องสั้น (Short Story Collection)
* วารสาร นิตยสาร และหนังสือพิมพ์ (Journals Magazines and Newspapers )
* จุลสาร (Phamplet)
* กฤตภาค (Clipping)
* นิตยสาร (Magazines)
* หนังสือพิมพ์ (Newspapers)
* งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ (Research and Thesis)
ระเบียบและข้อปฏิบัติในการใช้บริการ
1) แต่งกายสุภาพ
2) สำรวจกิริยามารยาท/ไม่ส่งเสียงดัง
3) ห้ามสูบบุหรี่
4) ห้ามนำอาหาร ของคบเคี้ยว ขนม และน้ำ/เครื่องดื่มต่างๆ เข้ามาในห้องสมุด
5) เครื่องมือสื่อสารทุกชนิด กรุณาปิดเสียงหรือตั้งเสียงเบา
6) ไม่วางสิ่งของเพื่อจองที่นั่ง
7) จงช่วยกันระวัง และรักษาการวัสดุอุปกรณ์ วัสดุ ครุภัณฑ์ต่างๆ ไม่ให้เสียหาย และรักษาความสะดาดในห้องสมุด
8) สืบค้นข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ก่อนหาหนังสือบนชั้น
9) ค้นหาหนังสือด้วยความเป็นระเบียบ
10) ห้ามตัด ฉีก ขีดเขียน พับหน้ากระดาษ หรือทำลายทรัพยากรสารสนเทศของหนังสือ ถือว่าเป็นการทำลายทรัพย์สินของราชการ ผู้กระทำผิดต้องได้รับการพิจารณาลงโทษ
11) ไม่นำทรัพยากรสารสนเทศออกจากห้องสมุด โดยไม่ได้รับ อนุญาต และมิได้ยืมตามระเบียบของห้องสมุด
12)ใช้สิ่งพิมพ์เสร็จแล้วกรุณาวางไว้บนชั้นพักหนังสือหรือรถเข็นที่เตรียมไว้
13) กระเป๋าและสิ่งของให้วางในตู้เก็บของที่เตรียมไว้ให้ (นำเฉพาะสิงของมีค่าติดตัวเข้าได้เท่านั้น)
14) ผู้ใช้บริการต้องอนุญาติ ให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุด ตรวจเอกสาร และวัสดุทุกชิ้น ก่อนออกจากห้องสมุด
15) ผู้ที่เข้าใช้ Internet หรือโสตทัศนวัสดุ ต้องลงชื่อในห้องสมุดที่จัดเตรียมไว้ให้ทุกครั้ง และปฎิบัติตามกฎ ระเบียบการการเข้าใช้ Internet อย่างเคร่งครัด |